Thailand Ratified ILO Convention No. 111 on Discrimination (Employment and Occupation) 1958

Thailand Ratified ILO Convention No. 111 on Discrimination (Employment and Occupation) 1958

วันที่นำเข้าข้อมูล 22 Jun 2017

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 12 Oct 2022

| 1,220 view

ไทยยื่นสัตยาบันสารอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 111
ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.ศ.
1958

 

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2560 นายเสข วรรณเมธี เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ได้นำพลเอกศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย เข้ายื่นสัตยาบันสารอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) ฉบับที่ 111 ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501) แก่นาย Guy Ryder ผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ การให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับนี้เป็นความมุ่งมั่นของไทยที่จะยกระดับมาตรฐานแรงงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ในการขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ อันเป็นหลักการพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชน โดยอนุสัญญาฉบับนี้เป็นอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 17 ที่ไทยให้สัตยาบัน และจะมีผลบังคับใช้ในอีก 12 เดือนถัดไปนับจากวันที่ให้สัตยาบัน คือวันที่ 13 มิถุนายน 2561

อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 111 เป็นหนึ่งในอนุสัญญามาตรฐานแรงงานหลัก (fundamental conventions) จำนวน 8 ฉบับของ ILO ซึ่งปัจจุบันไทยได้ให้สัตยาบันไปแล้วทั้งหมด 6 ฉบับ โดยอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 111 จัดอยู่ในหมวด
การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ มีผลผูกพันให้ประเทศสมาชิกที่เป็นภาคีต้องกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคของโอกาสและการปฏิบัติที่ทัดเทียมในการจ้างงานและอาชีพ เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติใดๆ รวมทั้ง ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การผู้แทนนายจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการยอมรับและการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ การให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 111 สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามอนุสัญญาว่าด้วย
การขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination: CERD) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR)   ทั้งนี้ ประเด็นการขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพสะท้อนอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ข้อที่ 5 เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ ข้อที่ 8 เรื่อง การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติมโตทางเศรฐกิจ และ ข้อที่ 10 เรื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ และยังเป็นส่วนหนึ่งของหลักการงานที่มีคุณค่า (Decent Work) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับนี้แล้ว 175 ประเทศ รวมทั้งไทย 

ไทยให้ความสำคัญกับการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกมิติมาโดยตลอด โดยมีรัฐธรรมนูณแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นแนวนโยบายแห่งชาติ และกฎหมายหลายฉบับที่บัญญัติมาเพื่อป้องกันและคุ้มครองไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ เช่น พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ทั้งนี้ ไทยยังมีกฎหมายที่ก้าวหน้าที่ให้
การป้องกันและคุ้มครองแก่ลักษณะพิเศษเพิ่มเติมกว่าที่อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 111 กำหนดอีกด้วย เช่น อายุ คนพิการ
และแรงงานนอกระบบ เป็นต้น

                                                                                      * * * * *                                                             

 

 

 

                                          Thailand Ratified ILO Convention No. 111 on Discrimination                                        

(Employment and Occupation) 1958

 

On 13 June 2017, Mr. Sek Wannamethee, Ambassador and Permanent Representative of Thailand to the United Nations Office and other International Organizations in Geneva, accompanied General Sirichai Distakul, Minister of Labour, to deposit the instrument of ratification of the International Labour Organization (ILO) Convention No. 111 on Discrimination (Employment and Occupation), 1958 to Mr. Guy Ryder, Director-General of ILO, on behalf of the Royal Thai Government. The ratification reassures Thailand’s commitments in protecting persons from all forms of discrimination in employment in compliance with international labor standards. This is the 17th ILO Convention that Thailand has ratified, which will enter into force on 13 June 2018, 12 months after the ratification.

The Convention No. 111 is one of eight ILO fundamental conventions, of which Thailand has now ratified six, on the elimination of discrimination in respect of employment and occupation. Member States that ratify this Convention are obliged to enable legislation which prohibits all forms of discrimination and exclusion on any basis including race, color, sex, religion, political opinion, national extraction or social origin in employment. Cooperation with employer and workers organization should also be enhanced to promote the acceptance of this policy.

The ratification of Convention No. 111 is also in line with Thailand’s commitment to the Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination (CERD) and the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR). The promotion of non-discrimination in employment is also reflective in Goals 5, 8, and 10 of the Sustainable Development Goals (SDGs), which seeks to promote gender equality, decent work and economic growth, and reduced inequalities as well as the ILO’s agenda of decent work for all. At present, 175 Member States, including Thailand, have ratified this Convention.  

Thailand has continued to promote non-discrimination in all aspects with the new Constitution B.E.2560 (2017) as the foundation. Other laws including the Gender Equality Act B.E. 2558 (2015) have also been enacted to enhance and promote non-discrimination.  It should also be highlighted that Thailand has enacted various laws on the protection of specific groups beyond what is required in Convention No. 111 including age, person with disabilities, and undocumented migrants.

 

* * * * *

 

 

Images

Images